เวลาทำการ

11.00 - 20.00 วันอังคาร - วันอาทิตย์

ติดต่อสอบถาม

phone 064-654-6414
login

คุณรู้หรือไม่ว่าการใช้ชีวิตประจำวันในปัจจุบันนี้ มีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารโลหะหนักและสารพิษเข้ามาในร่างกายอยู่ตลอดเวลา ทั้งการทำงานที่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับสารพิษ หรือการปนเปื้อนที่มากับชีวิตประจำวัน อย่างการรับประทานอาหาร เครื่องสำอาง หรือแม้แต่วัสดุอุดฟันบางชนิด 

LINE_ALBUM_Metal Toxicity_๒๑๑๒๐๓_2

5 โลหะหนัก...ที่เราต้องระมัดระวัง มีอะไรบ้าง? 

โลหะหนักที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของเรามีอยู่ทั้งหมด 5 ชนิดหลักๆ ด้วยกัน คือ อะลูมิเนียมสารหนูปรอทตะกั่ว และ แคดเมียม ซึ่งในทางเวชศาสตร์ชะลอวัย เราจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะร่างกายของเรา 'ไม่ควรมีโลหะหนักเหล่านี้อยู่เลย แต่การจะป้องกันไม่ให้ร่างกายของเรารับสารโลหะหนักเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้น “การตรวจโลหะหนัก” จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้เรารู้ได้! 

อาการเตือนสารโลหะหนักสะสม 

การที่ร่างกายมีโลหะหนักสะสมอยู่ บางครั้งอาจไม่ได้มีอาการของโรคแสดงออกมา แต่ในบางราย..ก็อาจจะมีอาการไม่สดชื่น คิดอะไรไม่ค่อยออก ซึ่งการตรวจวินิจฉัยในศาสตร์ของศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย จะเป็นไปเพื่อพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือทำการกำจัดออกด้วยวิธีการทางแพทย์ เพื่อให้ร่างกายกลับมาสะอาดปราศจากสารพิษ 

LINE_ALBUM_Metal Toxicity_๒๑๑๒๐๓_1

ทำไมควรเข้ารับการตรวจโลหะหนัก 

การตรวจสารโลหะหนักที่อยู่ในร่างกายสามารถทำได้หลากหลายวิธีทั้งจากเลือด ปัสสาวะและเหงื่อ แต่วิธีที่นิยมที่สุดในหลายๆ โรงพยาบาล ก็คือการตรวจเลือด เพราะสามารถทำได้ง่ายและวิเคราะห์ผลได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการตรวจสารโลหะหนักไม่ใช่วิธีการรักษาโรค แต่เป็นการตรวจเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี เนื่องจากจะช่วยให้ป้องกันการเพิ่มขึ้นของปริมาณโลหะหนักในร่างกาย โดยใช้หลักการ “ดีท็อกซ์” เพื่อกำจัดสารพิษเหล่านี้ออกไป 

การ Detox สารพิษ 

ร่างกายสามารถกำจัดโลหะหนักออกไปเองได้ โดยผ่านทางเหงื่อและทางปัสสาวะ แต่จะใช้เวลานาน เพราะโลหะมักจะจับตัวอยู่ในเนื้อเยื่อสำคัญ เช่น ในสมอง ทำให้ไม่สามารถขับออกมาแบบปกติได้...ต้องอาศัยตัวช่วยในการจับออกมา 

 

ดังนั้น แนวทางในการรักษา คือต้องรับประทานยาซึ่งเป็นการรักษาในระยะยาว โดยทำควบคู่ไปกับ...การใช้สารที่กำจัดโลหะหนักผ่านทางหลอดเลือด ซึ่งเป็นการล้างพิษแบบรวดเร็ว วิธีการ ก็คือฉีดสารเข้าร่างกายผ่านทางหลอดเลือด โดยสารจะเข้าไปจับโลหะหนักที่เกาะอยู่ตามเนื้อเยื่อหรือกระดูก เพื่อที่จะให้ร่างกายสามารถขับออกมาได้เองตามธรรมชาติ 

 

หากคุณสงสัย ว่าอาจมีสารพิษโลหะหนักตกค้าง สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจได้ โดยหากตรวจพบว่ามีสารพิษโลหะหนักตกค้างจริง จะมีการรักษาต่อไปอย่างเหมาะสม 

LINE_ALBUM_Metal Toxicity_๒๑๑๒๐๓_0


นัดหมายแพทย์